วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีทำอาหารเมนูผัดเปรี้ยวหวานไก่


วิธีทำอาหารเมนูผัดเปรี้ยวหวานไก่

วิธีทำอาหารเมนูผัดเปรี้ยวหวานไก่

ส่วนผสมวิธีทำอาหารเมนูผัดเปรี้ยวหวานไก่มีดังนี้
1.เนื้อไก่ปริมาณตามใจชอบ
2.ผักที่จะใช้มี แตงกวา ต้นหอม มะเขือเทศ พริกเหลือง
3.ซอสมะเขือเทศ
4.กระเทียมสับ
5.น้ำปลา
6.สัปรส
7.น้ำตาลทราย

วิธีการทำอาหารเมนูผัดเปรี้ยวหวานไก่
ตั้งกะทะ ใส่น้ำมันชืพ ใส่กระเทียมสับผัดกระเทียมให้หอม กระเทียมเหลืองแล้วก็ใส่ไก่ลงไป ใส่น้ำปลาไปนิดหน่อยผัดให้ไก่สุกๆแล้วก็ใส่ผักที่เตรียมไว้ (ผักนี่ก็แล้วแต่คนชอบๆทานผักอะไรก็ใส่ไป) ใส่สัปรสลงไป ผัดผักให้สุกไม่ต้องสุกมากเดี๋ยวผักจะเละ ถ้าใครชอบเละก็ผัดให้สุกเลย ใส่ซอสมะเขือเทศ ใส่น้ำเปล่าลงไปนิดนึง แล้วก็ปรุงรสใส่น้ำปลาอีกนิดนึง น้ำตาลทรายนิดนึง ผัดสักพักนึงให้สุก ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน

การทำขนมฝอยทอง



ฝอยทอง
ส่วนผสม
น้ำเชื่อม, ไข่เป็ด, น้ำตาลทราย, น้ำค้างไข่, น้ำลอยดอกมะลิ,ไข่ไก่

วิธีทำ
1. น้ำตาลทราย น้ำ ตั้งไฟพอเดือดน้ำตาลละลาย
2. ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งไฟเคี่ยวต่อ
3. ให้น้ำเชื่อมมีลักษณะไม่ข้นหรือใสเกินไป เหมาะสำหรับโรยฝอยทอง
4. ตอกไข่ แยกไข่ขาวออกใช้แต่ไข่แดง และเก็บน้ำไข่ขาวที่ใสไม่เป็นลิ่ม เรียกน้ำค้างไข่
5. นำไข่แดงใส่ผ้าขาวบางรีดเยื่อไข่ออก ผสมไข่แดงกับน้ำค้างไข่ตามส่วน คนให้เข้ากัน
6. เตรียมกระทะทองใส่น้ำเชื่อมเดือด ๆ ไว้ ทำกรวยด้วยใบตอง หรือใช้กรวยโลหะใส่
7.ไข่แดงโรยในน้ำเชื่อมเดือด ๆ ไปรอบ ๆ ประมาณ 20-30 รอบ เส้นไข่สุกใช้ไม้แหลม
8. สอยขึ้นจากน้ำเชื่อม พับเป็นแพ อบด้วยควันเทียนหลังจากเย็นแล้ว

การทำยำส้มโอ


วิธีทำอาหารเมนูยำส้มโอ (How to Make Pomelo Salad)
ส่วนผสมวิธีทำอาหารเมนูยำส้มโอ (How to Make Pomelo Salad)
1.ส้มโอเกะป่น
2.พริกแห้งคั่ว
3.หอมแดงซอย
4.กุ้งต้มสุก
5.กระเทียม
6.ถั่วคั่วบดหยาบ
7.น้ำตาลมะพร้าว
8.น้ำปลา
9.เนื้อมะพร้าวซอยคั่ว
10.กระเทียมเจียว
11.น้ำพริกเผา
12.น้ำมะขามเปียก
13.หัวกะทิ
14.กุ้งแห้งป่น

วิธีการทำอาหารเมนูยำส้มโอ (How to Make Pomelo Salad)
เริ่มต้นโดยการเตรียมน้ำยำ นำน้ำตาลมะพร้าวใส่ในชามหรือกระละมัง ใส่น้ำปลา+น้ำมะขามเปียก+น้ำพริกเผา+หัวกะทิ เมื่อได้ส่วนผสมทั้งหมดแล้วก็ผสมทุกอย่างจนเข้ากัน ชิมรสชาติตามใจชอบ เสร็จแล้วก็นำเนื้อส้มโอที่เกะแล้วใส่ในชามหรือกระละมังอีกใบ ตามด้วยเนื้อกุ้ง+หอมแดงซอย+น้ำยำที่ทำเสร็จเมื่อสักครู่ จากนั้นก็คลุกเคล้าจนเข้ากัน จากนั้นก็ใส่กุ้งแห้งป่น+กระเทียมเจียว+มะพร้าวคั่ว+ถั่วคั่ว ผสมทุกอย่างให้เข้ากันเสร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ปลาหมอสี

ปลาหมอสี




ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae พวกเดียวกับปลานิล ปลาหมดเทศ ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวส์ เป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย อดทน มีพฤติกรรมที่หลากหลาย ถ้าผู้เลี้ยงไม่เข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอสีก็จะทำให้ตายได้ง่าย ฉะนั้น ก่อนเลี้ยงก็ควรศึกษาหาอ่านจากตำราการเลี้ยงปลาหมอสีก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับปลาหมดสีทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงที่เพิ่งเริ่มต้นก็หาซื้อปลาที่มีราคาถูกหน่อยเลี้ยงหาประสบการณ์ก่อน แล้วค่อยไปซื้อชนิดราคาแพงเมื่อมีความสามารถมากขี้นแล้ว
แหล่งกำเนิดปลาหมอสี
ปลาหมอสีเป็นปลาที่กำลังเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาบ้านเรา แรกทีเดียวก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดเอเชียนั้น ได้รับความสนใจและนิยมเลี้ยงกันในแถบอเมริกา ยุโรปกันก่อนแล้ว เพราะเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงง่าย มีสีสันโดดเด่น สวยงาม และแปลกตา
ปลาหมอสีมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ มีนิสัยค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุกเข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไป
มาลาวี
เป็นทะเลสาบน้ำจืดในทวีปแอฟริกา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก พื้นที่ชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นหาดทรายหรือทรายเลนที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม หาดทรายจะอยู่สลับกับชายฝั่งที่เป็นโขดหิน มีความโปร่งใสของน้ำติดอันดับโลก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.8 - 8.5 มีปลาประมาณ 500 ชนิด ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ทำให้แพทเทิร์นของสีปลาแตกต่างกันจึงส่งผลให้มีประชากรหลากหลาย เช่น ปลาหมอมาลาวีสีน้ำเงิน จะมีสีน้ำเงินล้วน น้ำเงินปนเหลืองจนถึงเหลืองล้วนทั้งตัว ปลาหมอสีในทะเลสาบมาลาวีมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มนอนเอ็มบูนา มีประมาณ 250 ชนิด 38 สกุล การจำแนกสกุลโดยใช้แพทเทิร์นของเมลานิน (เม็ดสีประเภทสีดำที่อยู่ในผิวหนังของปลา) เป็นหลัก ความยาวโดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร เช่น ปลาหมอคริสตี้ ปลาหมอมาลาวีเหลือง ปลาหมอมาลาวีน้ำเงินคอแดง ปลาหมอมาลาวีน้ำเงิน ปลาหมอรอสตราตัส ปลาหมออิเล็กทริกบลู เป็นต้น
กลุ่มเอ็มบูนา มี 250 ชนิด 10 สกุล การจำแนกสกุลใช้ลักษณะของฟันเป็นหลัก เป็นปลาที่มีสีสวยสะดุดตาความยาว 10-12 เซนติเมตร เช่น ปลาหมอกล้วยหอม ปลาอีสเทิร์นบลู ปลาหมอดีมาสัน ปลาหมอลิลลี่



แทนแกนยีกา
เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 และมีความลึกเป็นอันดับสองของโลก ระดับอุณหภูมิสูงประมาณ 26 องศาเซลเซียสเกือบตลอดทั้งปี ความเป็นกรดเป็นด่างจะอยู่ระหว่าง 8.8-9.3 จากระดับน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการปะปนประชากรปลาในกลุ่มต่างๆ และจากการปรับตัวจึงเกิดปลาชนิดใหม่ซึ่งความสามารถดังกล่าวมีเหตุผล 3 ประการคือ
• 1. ปลาหมอสีอาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ดีและสามารถทนต่อน้ำเค็มได้ดี
• 2. ปลาหมอสีมีอวัยวะพิเศษที่สามารถเก็บกักปริมาณออกซิเจนได้นาน ทำให้ไม่ต้องโผล่ฮุบน้ำบ่อย ๆ และลูกปลาวัยอ่อนสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ
• 3. ปลาหมอสีมีการดูแลลูก อมไว้ในปากของแม่ปลา ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลอดภัยที่สุด ปลาหมอสีที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนแกนยีกา เช่น ปลาหมอฟรอนโตซ่า ปลาหมอแซงแซว ปลาหมอดูบอยซี่ ปลาลองจิออร์

วิกตอเรีย
เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ภูมิอากาศอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีความลึก 60-100 เมตร ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาในระดับต่าง ๆ ประมาณ 300 ชนิด แต่เนื่องจาก ปี พ.ศ. 2493 และ พ.ศ. 2503 ได้มีการนำปลาสกุลกะพงขาวจากแม่น้ำไนล์ไปปล่อยในทะเลสาบวิกตอเรีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ปลากะพงขาวได้ออกลูกหลานแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและจับปลาหมอสีวิกตอเรียกินเป็นอาหารหลัก ซึ่งส่งผลให้ปลาหมอวิกตอเรียสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 100 ชนิด สำหรับปลาที่ยังคงมีอยู่ได้แก่ ปลาหมออ๊อบลิคิวเดนซ์ ปลาหมอในเออร์รี ปลาหมอบราวนี
อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ปลาหมอสีในภูมิภาคนี้มีรูปร่าง วิถีชีวิตและพฤติกรรมแตกต่างไปจากหมอสีมาลาวี หมอสีแทนแกนยีกา และวิกตอเรีย สำหรับปลาในกลุ่มอเมริกากลาง ได้แก่ ปลาหมอริวูเลตัส ปลาหมอบราซิเบียน ปลาหมอหมอคาพินเต้ หรือกรีนเท็กซัส ปลาหมอฟลามิงโกหรือเรด เดฟเวิล ปลาหมอมาคู ปลาหมอตาแดง
สายพันธุ์ปลาหมอสี

สายพันธุ์ปลาหมอสี



• ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส
• ปลาหมอสีสกุลออโลโนคารา
• ปลาหมอสีสกุลโคพาไดโครมิส
• ปลาหมอสีสกุลลาบิโอโทรเฟียส
พันธุกรรมของปลาหมอสี
พันธุกรรมของปลาหมอสีที่มีผลต่อการควบคุมพัฒนาการของลักษณะต่างๆ ที่เรียกว่า ยีน การรวมของยีนจะประกอบด้วยยีนจากพ่อและแม่ของสัตว์แต่ละชนิด การผ่าเหล่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีผลแสดงออกมาให้เห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะทางโครงสร้างและสีสัน เช่น การเกิดเป็นสีเผือก จุดสีหรือจุดสีอื่นๆ ที่แปลก ออกไป โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มปลาหมอสีมีความสำคัญของการจำคู่ของตน แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติจะเป็นตัวทำให้เกิดความสมดุลในกลุ่มของมันเอง ในกรณีการเกิดเลือดชิด ก่อให้เกิดปลาชนิดใหม่
อาหาร
ปลาหมอสีสามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารได้ทุกประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจะไปทำลายตับของปลาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย ฉะนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ปลาหมอสีกินพืช ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไปควรมีส่วนประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวทอง ปริมาณอาหารไม่ควรให้เกินความต้องการของปลา จะทำให้ปลาอ้วนและอ่อนแอ ในกรณีเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์ ถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อ
ธรรมชาติของปลาหมอสีเป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 - 10 วัน ปลาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอาหารจำกัด โดยเฉพาะแม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก 15-20 วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใดๆ ทั้งสิ้น
การเพาะเลี้ยงปลาหมอสี
ปลาหมอสีเป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น จากนักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกถึงแม้ว่าปลากลุ่มนั้นส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง จัดอยู่ในวงศ์ชิลคลิดี การแพร่กระจายของปลาวงศ์นี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมดังเช่น ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยทะเลสาบ แม่น้ำลำธาร หนองบึง จึงส่งผลให้ปลามีความหลากหลายทั้งชนิด สายพันธุ์ รูปร่าง และการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งปลาบริโภคและปลาสวยงาม ได้แก่ ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ฯลฯ ปลาเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ดี จัดเป็นปลาเลี้ยงง่าย



หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสี
• 1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
• 2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
• 3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
• 4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
• 5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้
• 6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
• 7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ




เมื่อหลัก 7 ประการนี้คุณแก้ปัญหาได้แล้ว คราวนี้ก็เริ่มลงมือเลี้ยงกันได้ สมมุติว่าตู้ปลาจัดตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ตำราก็อ่านแล้วมีความมั่นใจ 100% ถุงใส่ปลาถูกแกะออกปลาฝูงแรกถูกปล่อยลงตู้แล้วทุกตัวพร้อมใจกันว่ายเข้าหาที่ซ่อน ไม่ต้องตกใจนั่นเป็นสัญญาณของปลา สักครู่ตัวที่กล้าหน่อยหรือตกใจน้อยหน่อยจะเริ่มว่ายน้ำสำรวจที่อยู่อาศัยใหม่ ตัวอื่นๆก็จะตามมาที่มีนิสัยรวมฝูงก็จะรวมกัน บางตัวก็ว่ายเที่ยวแล้วแต่ชนิดและนิสัยของแต่ละตัวไม่ต้องให้อาหารวันที่สองเมื่อปลาส่วนใหญ่สงบลงแล้วเริ่มให้อาหารเล็กน้อยเป็นอาหารมีชีวิตได้ก็ดีถ้าไม่มีอาหารเม็ดก็ได้ ให้น้อยๆดูจนกว่าปลาจะกินอาหารเม็ดหมด ทิ้งไว้สัก 2-3 ชั่วโมง ถ้ามีเศษอาหารเหลือก็ให้ตักออกทิ้งไป สัปดาห์แรกผ่านไปคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกะประมาณอาหารที่ให้ปลาได้ดีขึ้น
อาหารที่ให้ไม่ค่อยเหลือซึ่งจะดีมากน้ำจะใสไม่เสีย ถ้ามีปลาตายก็รีบตักออกไปจากตู้โดยเร็ว สังเกตุด้วยว่าตายสภาพอย่างไร ถ้าครีบขาดรุ่งริ่งแสดงว่ามันกัดกัน แยกตัวที่ก้าวร้าวออกไปใส่ไว้ในตู้พักปลา ถ้าภายในสภาพตัวยังสมบูรณ์ก็เกิดจากหลายสาเหตุ และตายติดต่อกันทุกวันก็ต้องเปิดตำราและถามผู้รู้แล้วละ สัปดาห์ที่สอง-สาม-สี่ ปลาก็จะเริ่มคุ้นกับคุณแล้วละมันจะเริ่มมาหาคุณไม่กลัวคุณ ยิ่งคุณอยู่ดูมันมากเท่าใดมันก็จะยิ่งคุ้นกับคุณมากขึ้นเท่านั้น การสื่อสารระหว่างคุณกับปลาก็จะยิ่งรู้เรื่องกันมากขึ้น

ขนมไทย

ขนมไทย
ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆประวัติควในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]
ขนมไทยแต่ละภาค
ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้าม
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
ขนมไทยภาคกลาง
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น
ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)

ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
• ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
• ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
• ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
• ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
• ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
• ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
• ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
• ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
• ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
• ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้าให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน